การปลูกพืชไร้ดิน (hydropoincs) การปลูกพืชในระบบไฮโดรโพนิคส์เข้ามาสู่ประเทศไทยเมื่อประมาณ 10 ปีมาแล้ว โดยชาวไต้หวัน นำเข้ามาแนะนำให้ผู้ประกอบการคนไทยทำเป็นการค้าที่เรียกว่า "ผักลอยฟ้า" ไฮโดรโพนิคส์ เข้ามามีบทบาทเพื่อแก้ปัญหาของการปลูกพืชในดิน ซึ่งมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและวัชพืช รวมทั้งเชื้อโรคพืชที่อาศัยอยู่ในดิน ทำให้เกิดสารพิษตกค้างในผลผลิตเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคและตัวเกษตรกรผู้ปลูก นอกจากนี้การปลูกพืชในดินยังต้องใช้น้ำมาก ถ้าปราศจากแหล่งน้ำก็ก่อให้เกิดปัญหาในการเพาะปลูกอีกการปลูกพืชในดินต้องมีการเตรียมดิน ปรับสภาพดิน และต้องใช้ปุ๋ยเคมีสูตรต่าง ๆ ตามอายุพืช "ไฮโดรโพนิคส์" จึงเป็นระบบการปลูกพืชที่เข้ามาแก้ปัญหาดังกล่าว แต่ทั้งนี้ไฮโดรโพนิคส์ก็เหมาะสมสำหรับพืชบางชนิดเท่านั้น ไฮโดรโพนิคส์เป็นการปลูกพืชไร้ดิน ในรูปแบบของการปลูกพืชให้รากพืชแช่อยู่ในน้ำ หรือสารละลายธาตุอาหารพืช เทคโนโลยีการเกษตร การปลูกพืชไร้ดิน การปลูกผักอนามัยในสารละลายธาตุอาหาร" ว่า การปลูกผักโดยไม่ใช้ดิน หรือ Soilless culture เป็นการปลูกผักโดยให้รากอยู่ในวัสดุปลูกที่ไม่ใช่ดิน ได้แก่ การปลูกให้รากแช่อยู่ในน้ำ(water culture หรือ hydroponics) ปลูกให้รากอยู่ในอากาศ (aeroponics) และปลูกให้รากอยู่ในวัสดุปลูกอื่น ๆ (substrate culture) ได้แก่ วัสดุอินทรีย์ เช่น ขุยมะพร้าว ขี้เถ้าแกลบ ขี้เลื่อย วัสดุผสมต่าง ๆ และวัสดุอนินทรีย์ เช่น ทราย กรวด ฟองน้ำ ใยหิน (rock wool) เพอไลท์ (perlite) และเวอร์มิคูไลท์ (vermiculite) เป็นต้น ซึ่งการปลูกในวัสดุปลูกที่ไม่ใช่ดินเหล่านี้ ต้องให้สารละลายธาตุอาหารแก่พืชอย่างพอเหมาะและต่อเนื่อง จึงจะทำให้พืชเจริญเติบโต การปลูกผักในลักษณะนี้ ถือเป็นการปลูกพืชแบบไร้ดิน (Soilless culture) อีกวิธีหนึ่งการปลูกพืชในสารละลายธาตุอาหารพืชมีหลายวิธี แต่ละวิธีมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน วิธีที่ง่ายและสะดวก เป็นที่นิยมกันมี 2 วิธี คือ
1. การปลูกพืชในสารละลายแบบไม่ไหลเวียน เป็นการปลูกแบบให้รากแช่อยู่ในสารละลายธาตุอาหารที่มีเครื่องพ่นอากาศ เป่าอากาศลงในสารละลายนั้น การปลูกในระบบนี้เป็นวิธีที่ทำได้ง่ายมาก
เหมาะสำหรับปลูกในครัวเรือน เป็นงานอดิเรก หรือเป็นงานทดลองภาชนะที่ปลูกอาจจะเป็นภาชนะเดี่ยวหรือเป็นกระบะรวม การปลูกในภาชนะเดี่ยวมีข้อดี คือ ไม่ต้องเสี่ยงกับความเสียหายทั้งหมดในกรณีที่มีโรคติดมากับรากพืชที่ปลูก ความเสียหายจะเกิดเฉพาะต้นที่เป็นโรคเท่านั้นและการเคลื่อนย้ายภาชนะปลูกสามารถทำได้ง่าย แต่มีข้อเสียคือ อาจต้องสิ้นเปลืองแรงงานมากกว่า
2. การปลูกในสารละลายแบบไหลเวียน (Nutrient Flow Tecnnique หรือ NFT) เป็นวิธีให้รากแช่อยู่ในสารละลายที่ไหลเวียนภายในภาชนะปลูกรวม โดยใช้ปั๊มทำการผลักดันให้สารละลายเกิดการไหลเวียน มี 2 แบบ คือ แบบสารละลายไหลผ่านรากพืชเป็นแผ่นฟิล์มบาง ๆ ตามความลาดชันของรางปลูก (Nutrient Flow Tecnnique) และระบบสารละลายไหลผ่านรากพืชอย่างต่อเนื่อง (Natrient Flow Tecnnique)การปลูกในระบบนี้ สารละลายธาตุอาหารที่ไหลผ่านรากพืชจะไหลลงสู่ถังภาชนะบรรจุ แล้วถูกสูบด้วยปั้มน้ำขึ้นมาให้พืชได้ใช้ใหม่ โดยวิธีนี้จะสามารถใช้ประโยชน์จากสารละลายธาตุอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ การนำสารละลายธาตุอาหารกลับมาใช้ใหม่ จึงเป็นวิธีที่ประหยัด และไม่เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม จากสารละลายเหลือใช้ แต่ข้อเสียของระบบนี้คือ ถ้าเกิดโรคที่ติดมากับรากพืชจะทำให้แพร่กระจายได้มากและรวดเร็ว จากการที่รากแช้อยู่ในสารละลายเดียวกัน ซึ่งยากที่จะกำจัด หรือรักษาให้หายได้ การแพร่ระบาดของโรคอย่างรุนแรงทำความเสียหายแก่พืชที่ปลูกไว้ทั้งหมด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น